เมนู

และเปลวไฟเป็นต้นโลหิตก็จะห้อขึ้น หรือว่าต่อมมีฝีเป็นต้นเกิดขึ้นในที่ใด ๆ
ปุพโพนั้นก็พึงก่อตัวขึ้นในที่นั้น ๆ
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นปุพโพ. นี้เป็นสภาคปริจเฉท
ของปุพโพ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

24. โลหิตํ (โลหิต เลือด)


คำว่า โลหิตํ ได้แก่ โลหิต 2 ชนิด คือ สันนิจิตโลหิต (โลหิตที่
ขัง) และสังสรณโลหิต (โลหิตที่ไหลเวียนไป). ใน 2 อย่างนั้น สันนิจิต-
โลหิต ว่าโดยสี มีสีดังน้ำครั่งข้นที่แก่ไฟ. สังสรณโลหิต มีสีดังน้ำครั่งใส ๆ
ว่าโดยสัณฐาน แม้ทั้งสองมีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ สันนิจิตโลหิต
เกิดในทิศเบื้องบน โลหิตนอกนี้เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส สังสรณโลหิต
ตั้งแผ่ไปสู่อุปาทินนกสรีระทั้งสิ้นตามเส้นโลหิต เส้นผม ขน เล็บ ฟัน และ
หนังที่แห้งกระด้าง. สันนิจิตโลหิต มีประมาณบาตรหนึ่ง (ขนาดใบเล็ก) ตั้งอยู่
เต็มส่วนใต้ของที่ตั้งของตับ ค่อย ๆ ไหลไปบนไต หัวใจ ตับ ปอด ทำให้
ไต หัวใจ ตับ ปอดชุ่มอยู่เสมอ เพราะว่าเมื่อโลหิตนี้ไม่ทำให้ไต หัวใจเป็น
ต้นชุ่มอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมกระหาย.
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดส่วนที่เป็นโลหิต. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของ
โลหิต ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

25. เสโท (เหงื่อ)


คำว่า เสโท คือ อาโปธาตุที่ไหลออกตามรูขนเป็นต้น. เหงื่อนั้น
ว่าโดยสี มีสีดังน้ำมันงาใส. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดย
ทิศ เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส ชื่อว่าโอกาสของเหงื่อมิได้มีอยู่เป็นนิตย์
เหมือนโลหิต แต่เมื่อใด ร่างกายย่อมร้อนด้วยความร้อนของไฟ ของแสงแดด